จาหลักฐานการขุดพบโบราณสถานอันเก่าแก่ที่เมืองศรีเทพ
แสดงให้เห็นว่าเมืองเพชรบูรณ์มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี มาแล้ว
ซึ่งลักษณะผังเมืองเพชรบูรณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมมีร่องรอยกำแพงล้อมรอบ 2 สมัย ในระยะแรกตรงกับสมัยสุโขทัยเป็นกำแพงดินแนว กำแพงกว้างยาวด้านละ 800 เมตร ปัจจุบันเหลือร่องรอยเพียงบางส่วน วัดมหาธาตุเป็นศาสนสถานภายในเมืองและมีลำน้ำผ่านกลาง เมืองเช่นเดียวกับเมืองพิษณุโลก ส่วนกำแพงอิฐและป้อมสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นการ ร่นเมืองให้เล็กลง แนวกำแพงด้านตะวันออกยาว 400 เมตร ด้านใต้ยาว 600 เมตร และในสมัยกรุงสุโขทัยที่ยังอยู่ภายใต้การครอบ ครองของขอมนั้นได้เกิดตำนานอันยิ่งใหญ่แห่งเมืองเพชรบูรณ์ คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในสมัย กษัตริย์ขอมนั้น พ่อขุนนาวนัมถมได้จัดให้พ่อขุนบางกลางท่าวส้องสุมผู้คนที่เมืองบางยาง (อ.นครไทย จ.พิษณุโลก) และพ่อขุนผา เมืองตั้งชุมส้องสุมผู้คนที่เมืองราด (ต.บ้านโสก อ.หล่มสัก) เพื่อวางกำลังขับไล่ขอมออกจากสุโขทัย พอกษัตริย์ขอมทราบเรื่อง เห็นว่า พ่อขุนผาเมือง มีกำลังและฝีมือเข้มแข็งก็ต้องการอยากได้มาเป็นพวกตน จึงยก "พระนางสิงขรทวี" พระธิดาให้เป็นมเหสี พร้อมทั้ง พระราชทานบรรดาศักดิ์ " กมรเต็งอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์" หากแต่พ่อขุนผาเมืองมิได้ลุ่มหลงไปกับสิ่งเหล่านั้น เพราะความเจ็บ แค้นที่ขอมข่มขี่ชาวไทยในสุโขทัยตลอดเวลา และได้วางแผนกับพ่อขุนบางกลางท่าวโจมตีขอมด้วยแผนล่อเสือออกจากถ้ำเป็นผล สำเร็จ จึงเกิดปัญหาที่ว่าตำแหน่งกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยนั้นจะยกให้ผู้ใด ซึ่งถ้าพิจารณาโดยเป็นธรรมแล้วน่าจะได้แก่ พ่อขุนผาเมือง หากแต่พ่อขุนผาเมืองมิได้ยินดีรับด้วยเหตุผลสำคัญ คือมเหสีของพระองค์เป็นขอม ทายาทที่จะครองแผ่นดินต่อจากพระองค์นั้นสาย เลือดจะไม่เป็นไทยแท้พระองค์จึงได้เวนตำแหน่งกษํตริย์ให้แก่พ่อขุนบางกลางท่าวพร้อมกับยก " นางเสือง "น้องสาวให้เป็นมเหสี และถวายพระนามพ่อขุนบางกลางท่าวว่า " พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ " ด้วยน้ำพระทัยของพระองค์ และความเป็นยอดของผู้เสียสละ ยิ่งใหญ่เพื่อบ้านเมืองได้สร้างตำนานแห่งประวัติศาสตร์ของเมืองเพชรบูรณ์ให้แด่อนุชนได้ระลึกอย่างภาคภูมิใจ |